บทความที่ได้รับความนิยม

25/1/54

บทที่ 2

บทที่ 2
ระเบียบวิธีการคำนวณทางสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต

1.จงบอกเปอร์เซ็นต์ของการผลิตภายในประเทศ ปี 2545 ?
ตอบ ภาคการเกษตร 10 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 36 เปอร์เซ็นต์

2.รายได้ประชาชาติ คือ ?
ตอบ มูลค่าของสินและบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ในรอบ 1 ปี

3.รายได้ประชาชาติได้มาจากอะไร ?
ตอบ ผลรวมรายได้ที่บุคคลต่างๆในระบบเศรษฐกิจได้รับในฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในรอบ 1 ปี

4.มีวิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติกี่ทาง ?
ตอบ
1.คำนวณรายได้ประชาชาติจากผลผลิต
2.คำนวณรายได้ประชาชาติจากรายจ่าย
3.คำนวณรายได้ประชาชาติจากรายได้

5.การคำนวณรายได้ประชาชาติ คิดจากอะไรได้บ้าง ?
ตอบ
1.คิดจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
2.คิดจากมูลค่าเพิ่มของสินค้า

6.จงหาค่ารายได้ประชาชาติ ดังต่อไปนี้ ?
ตอบ
1.นาย ก.เป็นเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้โรงสีราคา 100 ล้านบาท
2.นาย ข. รับซื้อข้าวเปลือกทั้งหมด ราคา 100 ล้านบาทแล้วนำมาขายทั้งหมดโดยสีเป็นข้าวสาร 130 ล้านบาท
3.นาย ค. รับซื้อข้าวสาร เพื่อนำมาบรรจุหีบห่อขายไป 180 ล้านบาท
ถาม จงหารายได้ประชาชาติจากมูลค่าขั้นสุดท้าย = 180 ล้านบาท คือ
100+30+50 = 180 ล้านบาท คำนวณจากมูลค่าเพิ่มของสินค้า

7.จงบอกสูตรการหา GDP ?
ตอบ
C+I+G+X-M
C = Consumtion
I = Investment
G = Government
X = Export
M = Import


8.เมื่อ GDP = C+I+G+X – M จะสามารถแปลงเป็นการหาค่า GNP ,NNP ,NI อย่างไร ?
ตอบ
GNP = GDP +Net factor Income from aboard or Net
Factor Income Payment from rest of the world (NFP)

ปรับค่า NNP = GNP – Provision for Consumssion

Sp = GNP +NFP-T+TR+INT – C

NNP( At Factor Cost) = NNP – Indirect (tax - subsidies)

NNP ( At factor cost ) = NI

ปรับเป็นรายหัว
Per Capital Income = NI / Population
Per GNP = GNP / Population
Per GDP = GDP / Population

9.จงบอกรายได้ของเจ้าของปัจจัยการผลิต ?
ตอบ
1.ค้าจ้าง
2.ค่าเช่า
3.ดอกเบี้ย
4.กำไร

10.ถ้าสินค้า 10 us โดยรวม ภาษี 0.50 us อะไรคือ Total income และ Total Output คือ ?
ตอบ GDP = 10 US รายได้ 9.50 US

11.ค่าเสื่อมราคา คำนวณจากอะไร ? c
ตอบ GDP = NDP + Depreciation

12.ปัจจุบันประเทศไทยใช้ปีอะไรเป็นปีฐานของการคำนวณ GDP แบบ Real GDP ?
ตอบ ปี 2546 ( 1988) เป็นปีฐาน

13.อะไรที่ทำให้ค่า GDP เปลี่ยนแปลง ?
ตอบ
Price และ Quantity GDP เปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนแปลงผลผลิต Real GDP เปลี่ยนแปลง
14.จากโจทย์ ?

ปี สินค้า A สินค้า B
ราคา จำนวน ราคา จำนวน
ปี 2553 2 10 2 10
ปี 2554 3 10 4 10
จงหา Norminal National Income และ Real National Income using 2554
ตอบ
(PA * QA) + ( PB*QB)

ปี 2553 20+20=40 (3)(10)+(4)(10) = 70
ปี 2554 (3)(10)+(4)(10)=70 ( 3)(10)+( 4)(10) = 70


15.อะไรที่ทำให้ Real GDP เพิ่มมากขึ้น?
ตอบ
1.การเพิ่มขึ้นของปัจจัยการผลิต
- ที่ดิน
- แรงงาน
- ทุน
2.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผลผลิต / หน่วย เพิ่ม
16.อะไรเป็นปัจจัยให้ส่งเสริมการผลิตเพิ่มขึ้น
ตอบ
ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่ม ทำให้ผลผลิตต่อบุคคลเพิ่มขึ้นเมื่อปัจจัยการผลิตคงที่

17.จากโจทย์จงหา NFP ( Net factor Income Payment form the rest of world )

I = 30
G = 30
GNP = 20
บัญชีเดินสะพัด( CA) = - 20
การส่งออก NX
NX+NFP = -20
NFP = -2
เงินโอนรัฐบาล ( TR=25)
ภาษี ( T) = 60
ดอกเบี้ยจ่ายรัฐบาล ( INT) = 15
โดย CA = NX+NFP

จากนั้นให้หา
1.GDP
2.Consumtion Expenditure (C)
3.Net Export
4.Private Saving
5.Govenment Saving
6.National Saving


1.GDP = C+I+G+X-M ---------------- > สูตรที่ 1
GDP + NFP = GNP
GDP = GNP-NFP
=200-(-2)
GDP = 202

2. หา GDP = C+I+G+NX-M -----------------> หาค่า C
202 = C+(30)+(30)+(-18)
202 = C+42
C = 202-42
C = 160

หาค่า(NX) NX + NFP = -20
NX = -20-NFP
= -20-(-2)
NX = -18

4.Private saving

Sp = GDP + NFP – T+TR+INT-C
=202+(-2)-(60)+(25)+(15)-160
Sp = 20
Sa = T-TR-INT-G
= 60-25-15-30
= -10

National Saving

S = Sp + Sa
S =20+(-10)
S =10

แหล่งที่มาของข้อมูล : EC500 เศรษฐศาสตร์ระดับกลาง

บทที่ 1

บทที่ 1

1.จงบอกปัญหาของเศรษฐศาสตร์มหภาค ?
ตอบ
1.ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
2.ปัญหาวัฎจักรเศรษฐกิจ
( ลดค่าเงินบาท 2527,เศรษฐกิจฟื้นตัว 2530 ,เกิดการชะลอตัว 2533 ,เกิดฟองสบู่ปี 2540 )
3.ปัญหาการว่างงาน
4.ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
5.ปัญหาผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์
6.ปัญหามาตรฐานการดำรงชีวิต
7.ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และดุลการค้า
8.ปัญหานโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐและสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นได้หรือไม่

2.ภาคระบบเศรษฐกิจแบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆมีกี่ภาคอะไรบ้าง ?
ตอบ
1.ภาคการผลิต
2.ภาคแรงงาน
3.ภาคการเงิน
4.ภาคการต่างประเทศ

3.Real sector คืออะไร มีตัวแปรอะไรบ้าง ?
ตอบ
คือ ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง
ตัวแปรที่สำคัญ
1.ผลผลิตรวมของประเทศ ( Total Output ) รายได้ประชาชาติ
2.ส่วนกระตุ้น = ส่วนขยาย
3.รายได้ประชาชาติ = ความต้องการใช้จ่ายทั้งหมด
4.อุปสงค์รวม = อุปทานรวม

4.เกิดภาวะเงินเฟ้อเมื่อไร ?
ตอบ เมื่ออุปสงค์รวม > อุปทานรวม

5.สภาวะเศรษฐกิจถอดถอยเมื่อไร ?
ตอบ เมื่ออุปทานรวม > อุปสงค์รวม

8.อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้กระทบต่อ อัตราการจ้างต้นทุนการผลิตโดยส่วนรวมการส่งออกและดุลการค้า ?
ตอบ อุปสงค์รวมของแรงงาน > อุปทานรวมของแรงงาน

9.ทางกลับกันหากทรัพยากรบางส่วนของประเทศไม่ถูกนำเอาไปใช้เป็นประโยชน์จะเกิดอะไรขึ้น ?
ตอบ อุปทานของการจ้างงาน > อุปสงค์ของการจ้าง

10.ดุลยภาพของภาคการเงินอยู่ที่ใด ?
ตอบ เมื่ออุปสงค์ของเงิน = อุปทานของเงิน (เกิดเป็นดุลยภาพของดอกเบี้ย)

11.อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเพราะเหตุใด ?
ตอบ อุปสงค์ > อุปทาน

12.จะมีการลดการจ้างงานเมื่อไร ?
ตอบ อุปสงค์เงิน > อุปทานเงิน ( เกิดการว่างงานดอกเบี้ยสูง )

13.ภาวะภาคการต่างประเทศ ดุลการชำระเงินของประเทศกรณีใด และสวัสดีการสูญเสีย ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากที่สุด ?

ตอบ การขาดดุลการชำระเงิน และตัวแปรย่อยต่างๆ คือ
เดินบัญชีเงินสะพัด ,การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ,อัตราการแลกเปลี่ยน

14.เครื่องมือหลักๆของรัฐบาลที่จะมีวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง ?
ตอบ.
1.นโยบายทางด้านการเงิน
2.นโยบายทางด้านการคลัง
3.นโยบายทางด้านรายได้

แหล่งที่มาของข้อมูล : EC500 เศรษฐศาสตร์ระดับกลาง มร.

21/1/54

ตัวอย่างข้อสอบเศรษฐศาสตร์จุลภาค

ตัวอย่างข้อสอบเศรษฐศาสตร์จุลภาค

ข้อ 1.
ตามทฤษฎีความพอใจเท่ากัน ดุลยภาพของผู้บริโภคจะเกิดขึ้นที่จุดซึ่งเส้นความพอใจเท่ากัน...
1.สัมผัสกับเส้นงบประมาณ
2. ตัดกับเส้นงบประมาณ
3. อยู่สูงกว่าเส้นงบประมาณ
4. เป็นเส้นขนานกับเส้นงบประมาณ

ข้อ 2.
ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีจากผู้ขาย สินค้าประเภทใดที่ผู้ขายรับภาระภาษีมากกว่าผู้ซื้อ
1.สินค้าจำเป็นสำหรับผู้บริโภค
2.สินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง
3.สินค้าฟุ่มเฟือยสำหรับผู้บริโภค
4.สินค้าใช้แรงงานมาก

ข้อ 3.
ตามทฤษฎีการผลิตแบบดั้งเดิม ข้อใดเป็นการผลิตขั้นที่ 1 ในการผลิระยะสั้น
1. เป็นระยะก่อตั้งกิจการใหม่
2. เป็นช่วงการผลิตที่ MP มากกว่า AP
3. เป็นช่วงการผลิตที่ MP เท่ากับศูนย์
4. เป็นช่วงการผลิตที่ MP น้อยกว่า AP

ข้อ 4.
ณ ปริมาณผลผลิตเท่ากับ 1 หน่วย TR = 40, TC = 50 และผลผลิตเท่ากับ 2 หน่วย TR = 75, TC = 62
ณ ปริมาณผลผลิต 1 หน่วย ธุรกิจมีผลประกอบการอย่างไร
1.ไม่สามารถบอกได้ชัดเจน
2.มีผลประกอบการกำไร
3.มีผลประกอบการเท่าทุน
4.มีผลประกอบการขาดทุน

ข้อ 5.
ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะสินค้าเหมือนกันทุกประการหมายความว่า
1.สินค้าทุกชนิดในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
2. สินค้าประเภทเดียวกันของผู้ขายแต่ละราย มีลักษณะเหมือนกัน
3.ผู้ซื้อรู้สึกว่าสินค้าที่ซื้อมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
4.ผู้ขายสินค้าในตลาดเหมือนกัน

ข้อ 6.
ในกรณี Ed < 1 ถ้าเรียกเก็บภาษีจากผู้ขาย ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ใครจะรับภาระภาษีกันอย่างไร
1. ผู้ซื้อรับภาระภาษีทั้งหมด
2.ผู้ขายรับภาระภาษีมากกว่าผู้ซื้อ
3.ผู้ขายรับภาระภาษีทั้งหมด
4.ผู้ซื้อรับภาระภาษีมากกว่าผู้ขาย

ข้อ 7.
ปัญหามูลฐานทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค คือ
1. ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
2.ปัญหาจะผลิตสินค้าอะไร อย่างไร เพื่อใคร
3. ปัญหาเงินเฟ้อ
4 ปัญหาขาดดุลการชำระเงิน

ข้อ 8.
ข้อใดมิได้เป็นต้นทุนคงที่
1.ค่าเช่าที่ดิน
2.ค่าก่อสร้างโรงงาน
3.ค่าแรงงาน
4.ค่าซื้อเครื่องจักร

ข้อ 9.
ความขาดแคลนหรือความหายากในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ทรัพยากรที่
1.มีอยู่เฉพาะในชนบทห่างไกลความเจริญ
2.มีไม่เพียงพอกับความต้องการ
3. ต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค
4. เป็นของหายากและราคาแพง
5.ที่เป็นของรัฐบาล เอกชนไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของ

ข้อ 10.
สินค้าชนิดหนึ่งราคาหน่วยละ 30 บาท ผู้บริโภคที่ต้องการความพอใจสูงสุดจะซื้อสินค้าถึงหน่วยที่
1. TU = 30
2.P < 30
3.MU > 30
4.TU > 30
5.MU = 30

ข้อ 11.
ตัวเลือกข้อใดเป็นความหมายของกฎว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของผลผลิตหน่วยสุดท้าย
1. ผลผลิตหน่วยสุดท้ายจะลดลงเสมอ เมื่อหน่วยผลิตขยายกิจการ
2. เมื่อใช้ปัจจัยเพิ่มขึ้นทีละหน่วยร่วมกับปัจจัยคงที่ ผลผลิตหน่วยสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นในตอนแรก
3. ในระยะยาว ผลผลิตหน่วยสุดท้ายจะลดลงเสมอ
4. ผลผลิตหน่วยสุดท้ายจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อใช้ปัจจัยแปรผันมากขึ้น

ข้อ 12.
ราคาสินค้าที่ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เรียกว่า
1. ราคาตลาด
2. ราคากลางที่กำหนดไว้ให้ตลาดตั้งราคาตาม
3. ราคาที่ปรากฏในตลาดและเป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อทั่วไป
4. ราคาเสนอซื้อของผู้บริโภค



ข้อ 13.
กำหนดให้ MUx และ MUyมีค่าดังต่อไปนี้
ปริมาณสินค้า MUx MUy
1 38 36
2 37 34
3 34 32
4 32 30
5 30 28
6 28 26

ถ้านายแดงมีเงิน 7 บาท สินค้า X และ Y ราคา 1 บาทต่อชิ้น
นายแดงจะต้องซื้อสินค้า X และ Y อย่างละกี่ชิ้น จึงจะได้รับความพอใจสูงสุด
สินค้า X = 3 และ Y = 4
สินค้า X = 4 และ Y = 3
สินค้า X = 6 และ Y = 5
ผิดทุกข้อ

ข้อ 14.
เส้นใดต่อไปนี้ที่ขนานกับแกนนอนหรือปริมาณผลผลิต (โดยที่แกนตั้งเป็นต้นทุน)
1. เส้นต้นทุนคงที่ทั้งหมด (TFC)
2. เส้นต้นทุนทั้งหมด (TC)
3. เส้นต้นทุนแปรผันทั้งหมด (TVC)
4. เส้นต้นทุนเพิ่ม (MC)

ข้อ 15.
ค่าเช่าและกำไร ถือว่าเป็นผลตอบแทนของปัจจัยการผลิตใด
1.ที่ดินและผู้ประกอบการ
2. ทุนและผู้ประกอบการ
3. ทุนและที่ดิน
4. แรงงานและทุน

ข้อ 16.
ในการเก็บภาษีจากผู้ขาย ผู้ขายมีโอกาสผลักภาระภาษีทั้งหมดให้ผู้บริโภค ในกรณีที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่น
1. มากกว่า 1
2. น้อยกว่า 1
3.เท่ากับศูนย์
4. อินฟินิตี้
5. เท่ากับ 1

ข้อ 17.
เมื่อเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานในสินค้าชนิดหนึ่งตัดกัน กรณีที่เส้นอุปสงค์-อุปทานในสินค้าชนิดหนึ่ง เคลื่อนย้ายไปทางซ้ายมือทั้งเส้นจากเส้นอุปสงค์-อุปทานที่ตัดกันเดิม จะมีผลอย่างไร
1. ราคาสินค้าดุลยภาพคงที่
2. ปริมาณซื้อ-ขายดุลยภาพใหม่เพิ่มขึ้น
3. ราคาสินค้าลดลงจากเดิม
4. ปริมาณซื้อ-ขายดุลยภาพใหม่ลดลง

ข้อ 18.
ถ้าเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อ และ Es > 1 สินค้าใดที่ผู้ซื้อรับภาระภาษีมากที่สุด
1. สินค้าฟุ่มเฟือย
2. สินค้าอุตสาหกรรม
3.สินค้าเกษตร
4. สินค้าวัตถุโบราณ

ข้อ 19.
เศรษฐทรัพย์ คือสินค้าชนิดใดต่อไปนี้
1. พลังงานจากโซล่าเซลล์
2. อากาศ
3. น้ำในแม่น้ำ
4. แสงแดด

ข้อ 20.
ถ้าเส้น MR กับเส้น AR เป็นเส้นเดียวกัน แสดงว่าหน่วยผลิตอยู่ในตลาดประเภทใด
1. ผูกขาด
2. แข่งขันไม่สมบูรณ์
3. กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
4. แข่งขันสมบูรณ์
5. ผู้ขายน้อยราย

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.testing.in.th

11/1/54

เศรษฐศาสตร์จุลภาค Microeconomics

เศรษฐศาสตร์จุลภาค Microeconomics

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผล กระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร

จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่น ดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์

สมมติฐานและนิยาม

ในทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยากเกินไปนัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=377.0